วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ทำไมบางทีภาษาอังกฤษก็แปลหลังไปหน้า บางทีก็แปลหน้าไปหลัง

แปลหลังไปหน้า หรือ หน้าไปหลัง กันแน่??

เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยมีข้อสงสัย เนื่องจากเคยเรียนมาตั้งแต่เด็กๆว่าภาษาอังกฤษให้แปลหลังไปหน้า แต่ทำไม แปลไปแปลมาเดี๋ยวกลับมาแปลหน้าไปหลังอีกแล้ว คำตอบอยู่ที่นี่แล้วค่ะ

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าถ้าเป็นกลุ่มคำเดียวกันจะแปลหลังไปหน้า เช่น ปากกาแดง (red pen), ต้นมะพร้าว (coconut tree), ผู้หญิงสวย ( beautiful girl ) แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เป็นคำคนละประเภทกันก็จะแปลปกติเหมือนภาษาไทย เช่น ฉัน(ประธาน/คำนาม) ชอบ(กริยา) หมา(กรรม/คำนาม)  แปลตรงๆที่ละตัว I like dogs. หนังสือเล่มนั้น บน โต๊ : that book on the table.

เพราะฉะนั้นถ้าเราจะแปลไทยเป็นอังกฤษ ไม่ควรแปลตรงๆเพราะ

1. ภาษาอังกฤษกับภาษาไทย ลำดับคำไม่เหมือนกัน
2. ภาษาไทยแปลเป็นคำๆ แต่ภาษาอังกฤษแปลเป็นกลุ่มคำ
3. ภาษาไทยถ้าเน้นพูดถึงเวลาต่างๆจะเน้นแค่คำบอกเวลา (adverb) นอกนั้นในประโยคเหมือนเดิม แต่ภาษาอังกฤษจะมีการเปลี่ยน Tense เช่น เมื่อวานกินพิซซ่า เย็นนี้กินพิซซ่า กินพิซซ่าทุกวัน  เราก็ยังคงใช้คำว่า กินเหมือนเดิม  แต่ภาษาอังกฤษ Everyday,I eat pizza.  Yesterday, I ate pizza. 
4. คำบางคำไม่สามารถหาคำแปลได้ เพราะไม่ปรากฏในประโยค เช่น คนไทยจะบอกว่า เขาเศร้า ถ้าแปลตรงๆก็ He sad แต่ที่ถูกต้องจริงๆต้องเป็น  He is sad ซึ่ง is ไม่มีความหมายเมื่อแปลเป็นภาษาไทย

วิธีแก้ เล็กๆน้อยๆเวลาจะสื่อสารภาษาอังกฤษ

1. ถ้าจะพูดถึงอะไรให้เอาคำนั้นไปไว้ท้ายสุด แล้วพูดพวกคำขยายหรือบอกลักษณะก่อน เช่นถ้าจะสั่ง พิซซ่า ให้บอกก่อนว่าอยากกินพิซซ่าที่มีลักษณะอย่างไร แล้วค่อยๆเจาะจงให้แคบลงมาเรื่อยๆจนถึงคำนาม เช่น big Hawaiian pizza : พิซซ่าฮาวานเอี้ยนถาดใหญ่, 2 Black cats, White Toyota Yaris Car.  เห็นไหมคะว่าพูดถึงจำนวน /ลักษณะที่เห็นชัดๆก่อน ถ้ายิ่งเจาะจงยิ่งอยู่หลังๆ 

2. พยายามนึกภาพรวมๆ แล้วนึกคำพูด อย่าพูดไป นึกไป เช่น 
     Ex.1 เขาเดินไปโรงเรียน หลายคนพูดว่า He walks go school. เพราะแปลตรงๆ แต่จริงๆแค่คำว่า walk หรือ คำว่า go ก็ชัดเจนแล้วว่าไป ก็แค่พูดว่า He walks to school หรือ He goes to school. 

     Ex. 2 เขาทำอาหารเย็น  ไม่ต้องพูดว่า He makes food เพราะคำว่าทำอาหารแปลเป็นกลุ่มคำได้เป็นคำว่า cook เลย ดังนั้นประโยคที่ถูกต้องคือ He cooks dinner.
เช่นเดียวกับคำว่า ทำพัง  ใช้คำว่า break / broke เลย และส่วนมาจะใช้ broke เพราะทำพังไปแล้ว เช่น เขาทำโทรศัพท์ฉันพัง He broke my phone. ถ้าเรารู้ว่าสถานการณ์แบบนี้จะใช้ กริยาช่อง 2 เพราะผ่านไปแล้ว ทุกครั้งที่พูดว่าใครทำอะไรซักอย่างพังก็ไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่อง Tense อีกต่อไป

3. เมื่อไหร่ใช้ is เมื่อไหร่ไม่ใช้ ? นอกจากจะใช้เมื่อแปลว่าเป็น อยู่ คือ แล้ว ถ้าเราจะพูดถึงลักษณะคนหรือของบางอย่าง หรือพูดอธิบายอารมณ์ ความรู้สึก ต้องใช้ V.to be (is-am-are) ด้วย คิดง่ายๆว่าถ้าเราบอกว่าเขาเศร้า เขารวย เขาหิว คนมองอาจจะไม่รู้ว่าคนไหน แต่ถ้าพูดถึงกริยาอยู่แล้ว เช่น เดิน นอน กระโดด เต้น จะสามารถเห็นได้เลยว่าคนไหนกระโดด
He is hungry, He is rich, I am here   : He runs, He jumps, He plays

ไม่มีความคิดเห็น: